การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานวิชาการ
The School Board Participation on Academic
Management
ธนพจน์ สายพวงเพชรโชติ
Thanapoj Saipoungpedchot
บทคัดย่อ
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถือเป็น คณะกรรมการที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานต่างๆ โดยมี หน้าที่กำกับ ติดตามและส่งเสริมกิจกรรมของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ทั้งงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ บริหารบุคคล และ บริหารงานทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการซึ่งถือเป็นภาระหลักของสถานศึกษา ที่จะต้องดำเนินการเป็นอันดับแรก ตลอดจนระดมทรัพยากร ทั้ง งบประมาณ บุคคล และความร่วมมือในด้านต่างๆ เพื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 แต่ในปัจจุบันคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่อาจจะไม่ทราบถึงบทบาท และหน้าที่ที่สำคัญนี้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของบุคลากรในสถานศึกษาจะต้องชี้แจง และอธิบาย บทบาทและหน้าที่เพื่อให้คณะกรรมการได้ทราบและเข้าใจ ซึ่งสถานศึกษาเอง อาจดำเนินการโดยใช้วิธีที่หลากหลายเพื่อสร้างความตระหนัก เน้นหลักการของการมีส่วนร่วม เพื่อให้ บุคลากรในสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินโครงการกิจกรรมร่วมกันด้วยเต็มใจ บรรลุจุดมุ่งหมายตรงตามที่ได้กำหนดร่วมกันไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเชื่อมั่น แก่สังคม ชุมชน ผู้ปกครอง และพัฒนาสถานศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม , การบริหารงานวิชาการ
Abstract
The school board was important to the management in monitor and promotes the activities of educational institutions effectively. Include academics, budgeting, human resourced management and general administration. Academics were a major part of the institution to be executed first.
Collected resourced, both personal and cooperative. To provided quality teaching and learning. Desirable featured Accurate with Core Curriculum, Basic Education 2008. At present, most school boards may not be aware of roles and functions. Therefore, it was the duty of the personnel in the school to clarify. The roles and duties for the Board to knew and understood Implemented using a variety of ways to raised awareness. Emphasize the principle of participation. To personnel in the school officers and the school board cooperated with each other voluntarily and achieved the same goal.
Key words: participation, academic management
บทนำ
การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคง ความเจริญก้าวหน้า ความสงบเรียบร้อย เพื่อสร้างพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ ในการขับเคลื่อน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศ ดังนั้นการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานฐานนั้น จะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นคณะบุคคลที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการ กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาที่สนองต่อความต้องการของผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ ในการกำกับ ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสถานศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สอดคล้องกับ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
(1)“การประชุมครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 32,176 โรง เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้บริหารโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษา และนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การพัฒนาการศึกษาจะสำเร็จได้ไม่เพียงแต่การกระจายอำนาจ และมีคณะกรรมการการศึกษาที่ดีเท่านั้น ต้องมีผู้บริหารสถานศึกษาที่เข้าใจและเปิดกว้าง ยอมรับการมีส่วนร่วมของกรรมการสถานศึกษา มีครูที่มีเมตตาธรรม และผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาที่มุ่งมั่น และนโยบายการพัฒนาการศึกษาต้องมีทิศทางชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปมา ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใด การประชุมวันนี้มุ่งหวังให้กรรมการสถานศึกษาที่เพิ่งมีมา 3 ปี เข้าใจบทบาท และผู้บริหารโรงเรียนต้องเปิดกว้าง และยอมรับการมีส่วนร่วม พัฒนามาตรฐานสถานศึกษาและการระดมพละกำลัง ช่วยให้โรงเรียนมีศักยภาพมากขึ้น ถ้าสามารถนำความรู้ประสบการณ์ของบุคลากรทางการศึกษามาช่วยกันพัฒนาโรงเรียนอย่างเต็มที่ก็จะช่วยได้มาก”
รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(2)“บทบาทของกรรมการสถานศึกษาจะเป็นผู้บริหารก็ไม่ใช่ เป็นที่ปรึกษาก็ไม่เชิง แต่หากกรรมการสถานศึกษาร่วมทำงานกับผู้บริหารสถานศึกษาได้ดี ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้น สำหรับความคาดหวังของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แก่ 1.อยากให้กรรมการสถานศึกษารับทราบข้อมูลของโรงเรียน โดยเฉพาะผลประเมินการศึกษาระดับชาติ (NT) ขอให้ทุกสถานศึกษาได้รู้ข้อมูลและช่วยกันเป็นตัวแทนประชาชนวิเคราะห์ข้อดี-เสียของโรงเรียน และปรับปรุงให้มากที่สุด 2.ในประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจ คณะกรรมการสถานศึกษาจะมีบทบาทมากขึ้นในหลายเรื่อง โดยจะมีส่วนในการกลั่นกรองผู้บริหารสถานศึกษา สพฐ.จึงอยากได้เสียงสะท้อนจากกรรมการสถานศึกษามากขึ้น นโยบายใดของ สพฐ.ที่กรรมการเห็นว่า ไม่ดี ขอให้บอก 3.สนับสนุนวิทยากรเพื่อพัฒนาสถานศึกษา 4.เป็นแม่ข่ายเชื่อมโยงสำนักงานเขตพื้นที่และโครงสร้างอื่นๆ และ 5.การกำกับดูแล ทั้งนี้ แม้จะกระจายอำนาจ แต่ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนนั้นเป็นรัฐอิสระ แต่กระทรวงศึกษาฯ มีหน้าที่ในการกำกับนโยบาย ผลการดำเนินงาน และระบบประกันคุณภาพภายใน”
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(3)“กรรมการสถานศึกษาหลายคนยังไม่รู้เลยว่า แบบอย่างที่ถูกต้องของบทบาทกรรมการในสถานศึกษาไหนทำถูก จึงเกิดความรู้สึกว่า กรรมการสถานศึกษาเหมือนผู้กำกับเส้น บางครั้งยกธงแล้ว แต่กรรมการไม่เป่าก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร เหมือนถ้าผู้บริหารโรงเรียนไม่เรียกประชุม กรรมการก็ไม่มีโอกาสเข้าไปร่วมเสนอแนะ สิ่งสำคัญจึงอยากให้กรรมการสถานศึกษาต้องรู้บทบาทที่แน่ชัดก่อน”
นายอดิเรก รัตนธัญญา เลขาธิการสมาคมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย
จากคำกล่าวเมื่อครั้งประชุมของประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้อำนวยการโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ในหัวข้อ “การรังสรรค์ให้โรงเรียนเป็นของชุมชนสู่มาตรฐานการศึกษา”เมื่อ วันที่ 13 พฤษภาคม 2550 ณ หอประชุมกองทัพเรือ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเน้นย้ำบทบาทหน้าที่การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการบริหารงานทั้งในด้านการพัฒนา การจัดการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย และนอกจากนี้ ยังมีกฎหมาย ระเบียบ ที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาต่อการบริหารงานในสถานศึกษา ยกตัวอย่างเช่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายรัฐต้องดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่งเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วยรัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545 มาตรา 40 ให้มีคณะกรรมการสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าอนุปริญญาของแต่ละสถานศึกษาเพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2543 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่ในการบริหารงานวิชาการดังนี้ 1) ให้ความเห็นชอบในการจัดทำสาระหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น 2) กำกับและติดตามการดำเนินงานตามแผนของสถานศึกษา มีแนวปฏิบัติ 3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กทุกคนในเขตบริการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่าง ทั่วถึงมีคุณภาพและได้มาตรฐาน 4) เสนอแนะและมีส่วนร่วมในการบริหารด้านวิชาการด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไปของสถาน ศึกษา 4.1) มีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานวิชาการของศึกษา 4.2) มีส่วนร่วมในการจัดหาผลิตสื่อเพื่อพัฒนาการเรียน 5) ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ตลอดจนวิชาวิทยากรภายนอกและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนทุกด้าน รวมทั้งสื่อสารจารีตประเพณีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ และ 6) เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนตลอดจนประสานงานกับองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งวิทยากรของชุมชนและมีส่วนร่วม ในการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น
จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นองค์คณะที่มีความจำเป็นและความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เนื่องจากมีหน้าที่โดยตรงในการ กำกับดูแล ส่งเสริม สนับสนุนสถาน ศึกษาในการดำเนินกิจกรรมต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็นภารกิจหลัก ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ดังนั้นเพื่อสร้างความตระหนักในบทบาท และหน้าที่ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนดประเด็นเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการบริหารงานวิชาการ ใน 3 ประเด็น ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบริหารงานวิชาการ
แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม
กระบวนการทำงานที่บุคลากรในองค์การมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์การทุกขั้นตอนด้วยความตั้งใจเต็มใจและสบายใจเพื่อให้งานบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการและทำให้บุคลากรเหล่านั้นเกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบต่อกลุ่ม(วัชระ สกุล ณ มรรคา ,2541) การบริหารที่เห็นความสำคัญของผู้ร่วมงานในฐานะมนุษย์ในองค์กรที่มีความสามารถมีเหตุผลมีวิจารณญาณการบริหารแบบมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดการระดมพลังสมองพลังงานอย่างแข็งขันเป็นการบริหารที่สนองความต้องการของมนุษย์มากที่สุด(ประยูร อาษานาม ,2541) การเข้าไปเกี่ยวข้องในการรู้เห็นตัดสินใจควบคุมดูแลและส่งเสริมให้เกิดประโยชน์สูงสุด(สกล สกลเดช ,2542) การดำเนินการทั้งด้านกายวาจาและใจเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และเกิดพลังในการเป็นผู้ให้และผู้รับมีรูปแบบและไม่มีรูปแบบเพื่อให้เกิดการพัฒนา(ศักดิ์ชัย ชัยวิรัตน์ ,2542) การจัดการศึกษาที่ประชาชนในชุมชนไม่ว่าเป็นรายบุคคลหรือองค์คณะบุคคลเข้าร่วมจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรและสนองความต้องการของชุมชน(ทรงสิทธิ์ ยืนชีวิต ,2543) การบริหารแบบมีส่วนร่วมคือผู้บริหารแบ่งอำนาจให้กับผู้ร่วมงานในองค์การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมรับผิดชอบร่วมความคิดเห็นและปฏิบัติงานร่วมแก้ปัญหาของการบริหารที่สำคัญด้วยการระดมพลังสมองพลังงานอย่างแข็งขัน(ปรียาพร วงศ์อรุณโรจน์ ,2535) การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับงานหรือองค์การและส่งผลให้เกิดข้อผูกมัดหรือข้อตกลงในทางพัฒนาร่วมกัน(รุจิร์ ภู่สาระ และ จันทรานี สงานนาม ,2545) กระบวนการของการให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจเน้นการมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องอย่างแข็งขันของบุคคลใช้ความคิดสร้างสรรค์และเชี่ยวชาญของพวกเขาในการแก้ไขปัญหาของการบริหารที่สำคัญคืออยู่บนพื้นฐานของแนวความคิดของการแบ่งอำนาจหน้าที่ที่ถือว่าผู้บริหารแบ่งอำนาจหน้าที่ของการบริหารของพวกเขาให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาและประการสุดท้ายต้องการให้ผู้บังคับบัญชามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงในกระบวนการตัดสินใจที่สำคัญขององค์การไม่เพียงแต่สัมผัสปัญหาหรือแสดงความห่วงใย(สมยศ นาวีการ ,2545) การที่บุคคลหรือคณะบุคคลที่เข้าไปมีส่วนในองค์การดำเนินภารกิจร่วมกันมีความเกี่ยวข้องจนเกิดความผูกพันต่อสมาชิกและองค์การเพื่อให้เกิดผลทั้งตนเองและหน่วยงาน/องค์การ(ชัญญา อภิปาลกุล ,2545) การที่บุคคลหรือคณะบุคคลเข้าร่วมในการทำงานการตัดสินใจช่วยเหลือสนับสนุนเสนอแนะหรือวิธีการที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไปร่วมกิจกรรมต่างๆให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล(อนันต์ หวะสุวรรณ ,2545) กระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้(ภูวดล หมื่นสีพรม ,2546) การเข้าไปเกี่ยวข้อง (Involvement) ทางความคิด, จิตใจ, อารมณ์และทางกายการมีส่วนร่วมมีความหมายมากกว่าการเป็นส่วนหนึ่ง (Sense and belonging) การมีส่วนร่วมมีความหมายทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (Quantitative and qualitative) การมีส่วนร่วมครอบคลุมทั้งมิติด้านความสามารถเวลาและโอกาสที่จะมีส่วนร่วมการมีส่วนร่วมเป็นการกระทำ (Action) จึงมีทั้งผู้กระทำ (The actor) ผู้ถูกกระทำหรือผู้รับผล (The recipient) และสาธารณชน (The public) ผู้เป็นบริบทของการกระทำ(วิระ บำรุงรักษ์ ,2541)
สรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมหมายถึงกระบวนการทำงานที่บุคคลหรือคณะบุคคลปฏิบัติกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งร่วมกันในองค์การหรือหน่วยงานให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้โดยร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมรับผิดชอบร่วมตัดสินใจร่วมแก้ปัญหาร่วมสนับสนุนและให้ข้อเสนอแนะในการบริหาร
บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายของการ
ปฏิรูปการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องจึงกำหนดให้มีคณะกรรมการซึ่งเป็นองค์คณะบุคคลทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาให้เป็นไปตามนโยบายมาตรฐานในการบริหารจัดการทางการศึกษาทั้งนี้การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จนั้นคณะกรรมการสถานศึกษาต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 รวมทั้งอำนาจหน้าที่การบริหารงานบุคคลที่จะเกิดขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสรุปอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2547)
1) กำกับการดำเนินกิจการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายกฎระเบียบประกาศคำสั่งและ
นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการกิจการด้านต่างๆของสถานศึกษา
3) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน
สถานศึกษาตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรม
การสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547) ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานไว้ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ (1) กำกับ (2) ส่งเสริมและ (3) มีอำนาจอื่นตามที่กฎหมายกฎระเบียบประกาศฯลฯกำหนดซึ่งมีกรอบในการดำเนินงานดังนี้
1) อำนาจหน้าที่ในการกำกับหมายถึงการกำกับให้สถานศึกษาดำเนินงานวิชาการงบประมาณการ
บริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไปให้สอดคล้องกับกฎหมายกฎระเบียบประกาศคำสั่งและนโยบายของกระทรวง ศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อำนาจหน้าที่ในการกำกับดำเนินงานของสถานศึกษาหลายคนเปรียบเทียบว่ามีหน้าที่คล้ายกรรมการกำกับเส้น( Lineman) ในกีฬาฟุตบอลคือกรรมการกำกับเส้นไม่ใช่ผู้ตัดสินและไม่ใช่ตัวนักกีฬาฟุตบอลในสนามไม่มีสิทธิเป่านกหวีดไม่มีสิทธิ์เตะฟุตบอลในขณะที่มีการแข่งขันเพราะคนมีสิทธิ์เป่านกหวีดคือกรรมการตัดสิน ( Referee) คนมีสิทธิ์เตะฟุตบอลคือนักกีฬาของทั้งสองทีมส่วนกรรมการกำกับเส้นมีสิทธิ์และหน้าที่ในการยกธงเมื่อผู้เล่นไม่ปฏิบัติตามกติกาเมื่อกรรมการกำกับเส้นยกธงกรรมการตัดสินก็จะเป่านกหวีดยุติการแข่งขันชั่วคราวก่อนเริ่มเล่นใหม่ซึ่งโดยบทบาทนี้คณะกรรมการสถานศึกษาต้องคอยกำกับสถานศึกษาโดยการติดตามการปฏิบัติงานของสถานศึกษารวมทั้งให้ความเห็นให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาเพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการเป็นไปตามกฎกติกาได้แก่กฎหมายกฎระเบียบประกาศคำสั่งและนโยบายดังกล่าวคณะกรรมการสถานศึกษาต้องแจ้งให้สถานศึกษาดำเนินการหากสถานศึกษายังไม่ดำเนินการคณะกรรมการต้องเสนอความเห็นไปยังกรรมการตัดสิน(เป่านกหวีด) ซึ่งได้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาสั่งการหรือแจ้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
2) อำนาจในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาเพื่อให้สถานศึกษามีความเข้มแข็ง
บริหารงานอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพสามารถบริหารการศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงและจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับศรัทธาเชื่อถือของประชาชนชุมชนและท้องถิ่น
3) อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่
ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาอำนาจหน้าที่ในส่วนนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เมื่อพิจารณาแยกเป็นภารระงานในด้านต่างๆอันประกอบไปด้วย ด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารบุคคล และบริหารงานทั่วไปแล้วรายระเอียด บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีดังนี้
1. ด้านวิชาการ
1.1 ให้ความเห็นข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาให้สดคล้องกับ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและความต้องการของผู้เรียนชุมชนและท้องถิ่น
1.2 ให้ข้อเสนอแนะและส่งเสริมสนับสนุนในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมกระบวนการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯลฯเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
1.3 รับทราบและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดระบบและการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ด้านงบประมาณ
2.1 ให้ความเห็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งและใช้จ่ายงบประมาณของสถานศึกษา
2.2 ออกระเบียบข้อบังคับประกาศและแนวปฏิบัติฯลฯเกี่ยวกับการบริหารการเงินและการจัดหารายได้จากทรัพย์สินของสถานศึกษาทั้งนี้ตามที่กฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนด
2.3 ให้ความเห็นข้อเสนอแนะในการออกระเบียบข้อบังคับประกาศและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารการเงินและการจัดหารายได้จากสินทรัพย์ของสถานศึกษาหรือปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ตามที่กฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนด
บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษา
3. ด้านการบริหารงานบุคคล
3.1 มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนพัฒนาครูและบุคลากรอื่นในสถานศึกษาและส่งเสริมให้มี การ
พัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
3.2 ให้ขวัญกาลังใจและยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ครูและบุคลากรอื่นในสถานศึกษา
4. ด้านการบริหารทั่วไป
4.1 ให้ความเห็นเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการจัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งความต้องการของมนุษย์และท้องถิ่น
4.2 รับทราบให้ความเห็นและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาและกิจการของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับกฎหมายกฎระเบียบประกาศคำสั่งตลอดจนนโยบายและแผนของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่นและรายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อสถานศึกษาไม่ปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบประกาศคำสั่งตลอดจนนโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น
4.3 ให้ความเห็นข้อเสนอแนะประสานส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษารวมทั้งปกครองดูแลบำรุงรักษาใช้และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษาตามกฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนด
4.4 ให้ความเห็นข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการออกระเบียบข้อบังคับประกาศแนวปฏิบัติฯลฯในการดำเนินงานด้านต่างๆของสถานศึกษาตามที่กฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนด
4.5 ให้ความเห็นข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษาในการส่งเสริมความเข้มแข็งในชุมชนและสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่นๆในชุมชนและท้องถิ่น
4.6 ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของสถานศึกษาตามที่กฎหมายระเบียบประกาศฯลฯกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
สรุปได้ว่าคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจหน้าที่ 3 ลักษณะคือ 1) การกำกับติดตามการ
ปฏิบัติงานของสถานศึกษาด้านวิชาการงบประมาณการบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไปให้ถูกต้องตามกฎระเบียบกฎหมายคำสั่งประกาศนโยบาย 2) อำนาจการส่งเสริมสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอำนาจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลซึ่งต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และ3) การปฏิบัติตามหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
การบริหารงานวิชาการ
งานวิชาการเป็นงานหลักหรือเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มุ่งกระจายอำนาจให้การบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุดด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระคล่องตัวรวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนสถานศึกษาชุมชนท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการสามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผลประเมินผลรวมทั้งการวัดปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียนชุมชนท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ความหมายของการบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการเป็นงานที่มีความสำคัญสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเนื่องจากการบริหารงานวิชาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาโดยเฉพาะการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้เล็งเห็นความจำเป็นและความสำคัญในด้านงานวิชาการ จึงกำหนดแนวปฏิบัติ การใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยให้สถานศึกษา ใช้จ่ายในงานวิชาการ 60%-70% ของเงินงบประมาณที่สถานศึกษาได้รับ ส่วนในการใช้จ่ายเงิน บริหารทั่วไป และ งบสำรองจ่าย 20%-30% และ 10% ตามลำดับ
ตารางที่ 1 แสดงการใช้จ่ายเงินงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ที่มา : คู่มือการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นอกจากนี้มีผู้ให้ความหมายในด้านการบริหารวิชาการไว้หลายท่านดังนี้ การบริหารงานวิชาการหมายถึงการดำเนินกิจการทุกชนิดในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการเรียนการสอนของนักเรียนให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพมากที่สุดได้แก่งานหลักสูตรการจัดแผนการเรียนการจัดตารางเรียนการสอนการจัดครูเข้าสอนการพัฒนา การเรียนการสอนการพัฒนาครูด้านวิชาการการวัดและประเมินผลการเรียน(สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู, 2537 อ้างถึงในกนกอรยศไพบูลย์, อัดสำเนา)สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2537) ได้ให้คำจำกัดความของการบริหารงานวิชาการว่าหมายถึงการจัดการเกี่ยวกับงานด้านหลักสูตรการนำหลักสูตรไปใช้งานการเรียนการสอนงานวัสดุประกอบหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนงานส่งเสริมงานสอนงานวัดและประเมินผลงานห้องสมุดงานนิเทศการศึกษางานวางแผนและกำหนดวิธีการดำเนินงานงานประชุมอบรมทางวิชาการการบริหารงานวิชาการหมายถึงการบริหารสถาน ศึกษาโดยมีการจัดกิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ไดผลดีและมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2535: 15)การบริหารงานวิชาการเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนผู้ศึกษาต้องใช้ความพยายามและความสามารถเป็นอย่างมากในการนำคณะครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (อำภา บุญช่วย, 2537: 179)การบริหารงานวิชาการหมายถึงการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้เกิดผลตามเป้าหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ(รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม, 2545: 56)
สรุปได้ว่าการบริหารงานวิชาการหมายถึงการบริหารกิจกรรมทุกอย่างในโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดความรู้และการศึกษาของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ส่วนสรุป
ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น ครูบุคลากร นับเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยอำนาจ ตำแหน่ง และบทบาท ของตนแต่การที่จะให้คุณภาพเกิดกับผู้เรียน เป็นที่ยอมรับจากสังคม และตรงตามความคาดหวังของชุมชนนั้น คณะกรรมการสถานศึกษาถือเป็นหัวใจหลัก เนื่องจาก เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ทั้งในการบริหาร การระดมทรัพยากรในการจัดการศึกษา ตลอดจนเป็นผู้เสียสละเวลาส่วนตนเพื่อพัฒนาสถานศึกษาในท้องถิ่นของตน ซึ่งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีทุกโรงเรียน โดย มีหน้าที่เพื่อกำกับและส่งเสริมกิจกรรมของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่างเช่นการให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ การดำเนินโครงการกิจกรรม หลักสูตรที่สถานศึกษาใช้ ตลอดทั้ง การมีส่วนร่วมในการแนะนำแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องตรงตามต้นสังกัด และความต้องการของชุมชน แต่การที่จะสร้างความตระหนักให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาในบทบาทและหน้าที่นั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ที่บุคลากรในสถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญ เน้นหลักการของการมีส่วนร่วมเพื่อให้ บุคลากรในสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความตั้งใจเต็มใจ สบายใจ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายและพิจารณาดำเนินการโดยใช้หลักเสียงข้างมาก ทั้งนี้เพื่อ สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และให้การดำเนินกิจกรรมนั้นบรรลุจุดมุ่งหมายตรงตามที่ได้กำหนดร่วมกันไว้ ทั้งงานด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ บริหารบุคคล และบริหารหารงานทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการซึ่งเป็นภาระหลักของสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องแสดงบทบาท ข้อคิดเห็น ตลอดทั้งเป็นตัวแทนของชุมชนเพื่อเสนอความต้องการในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่น แก่สังคม ชุมชน และผู้ปกครอง ต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
การวิจัยในครั้งนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลือเป็นอย่างดียิ่งจาก
ผศ.ดร.ปิ่นณิชา อุตตมะเวทิน อาจารย์ที่ปรึกษา ที่กรุณาให้คำแนะนำ และตรวจแก้ไข ข้อบกพร่อง ด้วยความเอาใจใส่ตลอดมาตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย ผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ ไว้เป็นอย่างสูงและขอกราบขอบพระคุณคณาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ทุกท่านที่ให้ความช่วยเหลืออย่างดี
ขอขอบคุณบิดามารดาครูอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการวางรากฐานแก่ผู้วิจัย และท่านอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้
การพิมพ์เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ
กระทรวงศึกษาธิการ, กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและ
การจัดการศึกษา พ.ศ. 2550.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การค้า
พัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ
(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.
กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546.
ชัญญา อภิปาลกุล. (2545). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหาร
และการจัดการศึกษาภายใต้โครงสร้างการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา : กรณีศึกษาของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทรงสิทธิ์ ยืนชีวิต. (2543). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการโรงเรียน
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นโยบายและแผน, กอง. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2543.
“เผยกรรมการสถานศึกษายังสับสนบทบาท พ้อเป็นได้แค่ผู้กำกับเส้น” .(ออนไลน์)
เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9500000054706 (พฤษภาคม 2550)
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2527). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: อนงค์การพิมพ์.
ประยูร อาษานาม. (2541). การบริหารทีมงาน หลักการและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธ์:ประสานการพิมพ์.
ปรียาพร วงศ์อรุณโรจน์. (2535). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ภูวดล หมื่นสีพรม. (2546). การบริหารโดยการมีส่วนร่วมในโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รุจิร์ ภู่สาระ และ จันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์.
วีระ บำรุงรักษ์. (2541). เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วัชระ สกุล ณ มรรคา. (2541). การศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่
สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศักดิ์ชัย ชัยวิรัตน์. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กประถมศึกษา โรงเรียนบ้านประตูป่า อำเภอเมือง
ลำพูน. เชียงใหม่ : การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542.
สกล สกลเดช. “ครู กับ Good Gorvernance”, วารสารวิชาการ. 20 , 1 (ตุลาคม–พฤศจิกายน 2542): 27–30.
สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรรณกิจ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). คู่มือการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 -2564).
กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์เลขาธิการวุฒิสภา.
อนันต์ หวะสุวรรณ. (2545). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในกระบวนการวางแผนพัฒนา
การศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อำภา บุญช่วย. (2537). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ประวัติผู้เขียน
นายธนพจน์ สายพวงเพชรโชติ, ปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต(ศศ.บ.) ,ข้าราชการครู โรงเรียนบ้านหนองหญ้าข้าวนก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3
https://drive.google.com/drive/folders/1lPIb9p7rZbn9I_A11Ti4Qh2puJVs38ob